วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

คำว่า It การใช้ที่ถูกต้อง




คำว่า its ไม่ใช่รูป พหูพจน์ ของ it นะคะ****

แต่เป็นคำ adjective แสดงความเป็นเจ้าของ (possessive adjective) แปลว่า ของมัน (สัตว์ หรือ สิ่งของ) หรือ ของสถานที่นั้น ของประเทศนั้นๆ เช่น

Thailand and its government ประเทศไทยและรัฐบาลไทย
Bangkok and its vicinity กรุงเทพและปริมลฑล
My dog and its food สุนัขของฉันและอาหารของมัน

เช่น I just went downstairs and saw my little puppy eating its food แปล
ว่า มะกี๊เพิ่งลงไปข้างล่ามา เห็น "ไอ่แสบ" หมาน้อยของอาจารย์ต้นกำลังกินอาหารของมันอยู่

ส่วนคำพหูพจน์ของ it ก็คือคำว่า they ไงล่ะคะ แต่พวกเรามักจะไม่ค่อยกล้าใช้ they แทนสิ่งที่ไม่ใช่คน เพราะเคยโดนหลอกมาตั้งแต่เด็กว่they แปลว่า พวกเขาทั้งหลาย จริงๆแล้ว they ใช้แทนคำนามได้ทุกชนิดเลยนะคะที่มีมากกว่าหนึ่งสิ่ง(พหูพจน์) เช่น

the banks=they, three little birds=they, those gigantic rocks=they, my and my Iphone=they, the speakers of my PC=they
คำว่า its ไม่ใช่รูป พหูพจน์ ของ it นะคะ****

แต่เป็นคำ adjective แสดงความเป็นเจ้าของ (possessive adjective) แปลว่า ของมัน (สัตว์ หรือ สิ่งของ) หรือ ของสถานที่นั้น ของประเทศนั้นๆ เช่น

Thailand and its government ประเทศไทยและรัฐบาลไทย
Bangkok and its vicinity กรุงเทพและปริมลฑล
My dog and its food สุนัขของฉันและอาหารของมัน

เช่น I just went downstairs and saw my little puppy eating its food แปล
ว่า มะกี๊เพิ่งลงไปข้างล่างมา เห็น "ไอ่แสบ" หมาน้อยของอาจารย์ต้นกำลังกินอาหารของมันอยู่

ส่วนคำพหูพจน์ของ it ก็คือคำว่า they ไงล่ะคะแต่พวกเรามักจะไม่ค่อยกล้าใช้ they แทนสิ่งที่ไม่ใช่คน เพราะเคยโดนหลอกมาตั้งแต่เด็กว่they แปลว่า พวกเขาทั้งหลาย จริงๆแล้ว they ใช้แทนคำนามได้ทุกชนิดเลยนะคะที่มีมากกว่าหนึ่งสิ่ง(พหูพจน์) เช่น

the banks=they, three little birds=they, those gigantic rocks=they, my and my Iphone=they, the speakers of my PC=they

การใช้ compound words



Compound words ได้แก่ คำนามที่เมื่อนำไปรวมกับคำต่างๆ เช่น noun, adjective, adverb etc.  แล้วจะทำให้เกิดเป็นคำประสมขึ้น หลักเกณฑ์ในการนำเอาคำมาประสมกันในภาษาอังกฤษก็คือ คำข้างหน้าเป็นคำที่ทำหน้าที่ขยาย (เหมือนคำคุณศัพท์) ส่วนคำข้างหลังเป็นคำที่มีความหมายสำคัญ ซึ่งผิดกับคำในภาษาไทยที่คำข้างหน้าเป็นคำที่มีความหมายสำคัญ เช่น แปรงสีฟัน แปรงเป็นคำที่มีความหมายสำคัญ ซึ่งในภาษาอังกฤษจะใช้ Toothbrush brush เป็นคำที่มีความหมายสำคัญซึ่งจะอยู่ข้างหลัง

Compound words  มี 2 ประเภท
 1. Compound noun ได้แก่ คำที่ประสมกันแล้วทำหน้าที่เป็นคำนาม
-     Noun+Noun (นามประสมกับนาม) แบ่งออกเป็น 5 ชนิดย่อย
1.1     นามตัวแรกจะบอกให้รู้ว่านามตัวหลังทำจากอะไร เช่น
a glass bottle                      =                   a bottle made of glass
a leather hat                            =               a hat  made of  leather
a diamond ring                        =               a ring made of diamond
1.2     นามตัวแรกบอกสิ่งที่ขาย นามตัวหลังบอกอาชีพ เช่น
a bookseller                        =             a seller of books
a rice merchant                       =               a merchant of rice
1.3     นามตัวแรกเป็นของบรรจุไว้ นามตัวหลังเป็นภาชนะสำหรับใส่ เช่น
a flower vase                           =               a vase for flowers
a wine bottle                       =                   a bottle for wine
a petrol barrel                     =                   a barrel for petrol
1.4     นามตัวหลังมีความสัมพันธ์กับนามตัวแรก เช่น
a reference book       =    a book of reference [หนังสืออ้างอิง]
a light switch                          =   a switch of rice [ ที่เปิด-ปิดไฟ]
1.5     นามตัวหน้าบอกให้ทราบสถานที่ของนามตัวหลัง  เช่น
a park pool                 =   a pool in the park
a country man                       =  a man in the country (คนบ้านนอก)



-    Verb-ing + Noun (กริยาเติม ing ประสมกับนาม) เช่น

A racing-car                      = a car that races

A sewing-machine            = a machine that sews (จักรเย็บผ้า)
A swimming –suit               = a suit for swimming (ชุดว่ายน้ำ)
          -   Noun + Verb เติม er หรือ or เช่น
A shopkeeper                         = a person who keeps a shop
                  A hairdresser                          = a person who dresses hair (ช่างตัดผม)
2. Compound Adjective ได้แก่ คำที่ประสมกันแล้วทำหน้าที่อย่างคำคุณศัพท์หรือเป็นคำคุณศัพท์เพื่อไปขยายนามหรือสรรพนาม
-    Adj + Noun เติม ed เช่น
A narrow – faced fellow          = a fellow with a narrow face
A pink – colored rose              = a rose with pink rose
-    Noun+adj แล้วใช้เป็นคำคุณศัพท์ประสม ใช้ขยายนาม เช่น

The stone-cold [adj] floor   = the floor that is as cold as stone

(พื้นเย็นเหมือนหิน)
                  nut – brown eyes               =  eyes that are as brown as a nut
-    Noun / Adj / Adv + Verb3 เช่น
A badly-written letter             = จดหมายที่เขียนไม่ดี
The snow-covered moutain   = ภูเขาที่ปกคลุมไปด้วยหิมะ
-    Noun / Adj / Adv  + Verb-ing เช่น
Grass-cutting tool                = เครื่องมือตัดหญ้า
A high-flying aeroplane       = เครื่องบินที่บินได้สูง
A night-blooming flower       = ดอกไม้ที่บานตอนกลางคืน
-    คุณศัพท์ประสมอาจเป็นรูปอื่นๆได้ เช่น
a seven-day holiday           = วันหยุด 7 วัน
or seven days’ holiday
a one – hour  drive              =  ขับรถ 1 ชั่วโมง
or a one hour’s drive          

              ข้อสังเกต

1.      คำประสม Verb-ing + Noun มักจะเขียนแยกกันโดยใช้
                ขีด [hyphen]
2.      รูปพหูพจน์ของคำประสมทั้ง 2 ชนิดนี้ ทำได้โดยเติม s,es   ที่นามตัวข้างหลัง
3.      ระหว่าง adj กับ Noun+ed ,  Noun/adj/adv+Verb3 ,
Noun/adj/adv+Verb-ing    จะต้องมีเครื่องหมายขีดคั่นเสมอ


Exercise

1.     Which of these is a cound word?
a.  a clerver boy                                            b.  a light meal
c.  an iron gate                                              d.  a close friend
2.    This is a …………… blouse.
a.  well-dressing                                            b.  badly-dressed
c.  good dressed                                           d.  bad-dressing
3.    Somsri helped me to sell things in the shop.  We called her ………………
a.  an assistant shop                                                b.  a shop assistant
c.  a helper shop                                           d.  a shopping helper
4.    A servant who suffers a long time is …………………
a.  a long-suffering servant                                    b.   a longed-suffering servant
c.  a long-suffered servant                         d.   a long-suffer servant
5.    His grandmother is old.  She has grey hair. She is a ………..woman.
a. grey hair old                                             b.  old-grey hair
c. grey-haired old                                         d.  grey-old –hair
6.    If that man is forty years old, we always call him ………………………
a.  a middle-aged man                                  b.  a aged-middle man
c.  a man middle-aged                                  d.  a middle-age man
7.    This machine is used for sewing. It is called …………………….
a.  a sew machine                              b.  a machine sewing
c.  a sewing-machine                                    d.  sewing a machine
8.    If the floor, walls and ceiling of the room are made so that sound cannot pass through them, we say that the room is ………………….
a.  sound-proof                                             b.  sounded-proof
c.  proof-sound                                             d.  proofed-sound

9.    She said that she saw the …………………. man  going into the  shop.
a.  thirty-year-old                                        b.  thirty-years-old
c.  thirty-old-years                                      d.  old-thirty-years
10.  They are looking forward to ……………………
a.  vacation’s week                            b.  a vacation of the week
c.  a week’s vacation                         d.  a week of vacation

 

Answer


  1.C    2. B    3. B    4. A    5. C    6. A    7.C    8. A    9. A    10.C


การอ่านเวลาในภาษาอังกฤษ (How to read time)

การอ่านเวลาในภาษาอังกฤษ (How to read time)

การอ่านเวลาในภาษาอังกฤษ (How to read time)

การอ่านเวลา สามารถแบ่งออกเป็นสองวิธีด้วยกัน คือ
  1. ระบบเวลาแบบ 12 ชั่วโมง (12-hour clock) เป็นวิธีการบอกเวลาที่นิยมใช้ในภาษาอังกฤษทั่วไป โดยใช้เลข 1 ถึง 12 ตามด้วย a.m. (ante meridiem) หรือ p.m. (post meridiem) ต่อท้าย โดยมีหลักการอ่านดังนี้
  • หากเป็นเวลาเต็มชั่วโมง ให้เติมคำว่า “O’clock” ตามหลังเลขชั่วโมงนั้นๆได้ และ หากเราต้องการย้ำถึงเวลา ก็อาจจะเติมคำว่า “sharp” ลงไปด้วย เช่น
It’s six O’clock now. = ขณะนี้เป็นเวลาหกนาฬิกา
See you tomorrow at six o’clock sharp = แล้วเจอกันพรุ่งนี้ ตอนหกโมงตรง
  • หากเป็นเวลาที่ผ่านชั่วโมงมาแล้ว แต่ไม่เกินสามสิบนาที ให้ใช้คำว่า “past” เข้ามาช่วยในการบอกเวลา เช่น
6.10 = Ten (minutes) past six / Six ten
6.15 = A quarter past six / Six fifteen
6.30 = Half past six / Six thirty
  • หากเป็นเวลาที่ผ่านชั่วโมง และเกินสามสิบนาทีมาแล้ว ให้ใช้คำว่า “to” เข้ามาช่วยในการบอกเวลา เช่น
6.45 = A quarter to seven / Six forty-five
6.50 = Ten (minutes) to seven / Six fifty
6.35 = Twenty-five (minutes) to seven / Six thirty-five
  • การอ่านเวลาแบบระบุเวลาเช้า เย็น เป็นวิธีที่ง่าย และมีความชัดเจนในการสื่อสาร ซึ่งเป็นที่นิยมเช่นกัน เช่น
4.45 p.m. = four forty-five in the evening
4.00 a.m. = four o’clock in the morning
* หากเป็นเวลาเที่ยงตรงพอดีจะใช้คำว่า “at noon หรือ midday” และหากเป็นเวลาเที่ยงคืนตรง ก็จะใช้คำว่า “at midnight”

  1. ระบบเวลาแบบ 24 ชั่วโมง (24-hour clock) เป็น วิธีการบอกเวลาที่ใช้ในหมู่ทหาร หรือ ในการประชุมทางการต่างๆ เพื่อป้องกันการสับสนในการบอกเวลา โดยใช้เลข 1 ถึง 23 และ เลข 00 ในเวลาเที่ยงคืน และไม่มี a.m. / p.m. ตามหลัง โดยมีวิธีการอ่านเวลาที่ต่างไปจากการอ่านเวลาทั่วไป เช่น
20.00 = twenty hundred
03.05 = oh three oh five / zero three zero five
00.35 = midnight thirty-five

การใช้ going to


การใช้ will/ be going to
1. will และ be going to เป็นโครงสร้างที่ใช้แสดงอนาคตกาล
2. โครงสร้าง be going to ใช้ในความหมายของความตั้งใจจะกระทำจริงๆ ในอนาคตมากกว่าโครงสร้าง will
3. โครงสร้าง  will/ be going to ต้องตามด้วยกริยาแท้ที่ไม่กระจายเสมอ
Talking about future actions
                      Future ( will)
               Future ( be going to )
- Jane 's bycycle has a flat tyre. She tells her   father.
Jane   :  My  bicycle has a flat tyre.          
             Can you repair it for me ?
Father : Okay ,but  I can't do it now.     
             I will repair it tomorrow.

** เราใช้ will
เมือเราตัดสินใจที่จะทำบางสิ่งในช่วงเวลาที่พูด ผู้พูดไม่ได้ตัดสินใจมาก่อนล่วงหน้า  ก่อนที่เจนบอกพ่อเขาไม่รู้มาก่อนว่ารถยางแบน.
Later, Jane's mother speak to her husband.

Mother : Can you repair Jane's bicycle ?                    It has a flat tyre.
Father  :  Yes ,I know . she told me.          
               I am going to repair it tomorrow.

**เราใช้  be going to 
เมื่อเราได้ตัดสินใจเรียบร้อยแล้วว่าจะทำ
บางสิ่งพ่อของเจนตัดสินใจไว้แล้วว่าจะ
ซ่อมจักรยานก่อนที่ภรรยาของเขาจะพูด
เรื่องนี้กับเขา

Saying what will happen ( prediction future happenings)
1. เราใช้ทั้ง will และ be going to เมื่อเราคาดการณ์ว่าสิ่งนั้นจะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น
       - Do yo hink John will get the job ?
2.เราใช้ be going to
(เราจะไม่ใช้ willในสถานการณ์ปัจจุบันซึ่งแสดงว่าจะมีเหตุการณ์เกิดขึ้น
ในอนาคตอันใกล้ เช่น  I feel terrible .I think I'm going to be sick.
                                    ( I feel terrrible now.)


การใช้ prefix or suffix


Prefix 

Prefix แปลว่า อุปสรรคหมายถึงคำที่ใช้เติมเข้าข้างหน้าคำอื่นแล้วทำให้คำคำนั้นมีความหมายผิดไปจากเดิม เราเรียนคำเช่นนี้ว่า “Prefix” = อุปสรรค ในภาษาอังกฤษอุปสรรคที่ใช้กันมาก และมักพบเห็นบ่อย ๆ มีอยู่ 10 ตัว คือ
1. –Un (ไม่) ใช้สำหรับเติมหน้าคำคุณศัพท์ (Adjective) หรือ คำกริยาวิเศษณ์ (Adverb) เมื่อเติมแล้วทำให้คำนั้นมีความหมายตรงกันข้าม เช่น suitable เหมาะสม unsuitable ไม่เหมาะสม countable นับได้uncountable นับไม่ได้ 
2. –Im (ไม่) ใช้สำหรับเติมหน้าคำคุณศัพท์ (Adjective) หรือ คำกริยาวิเศษณ์ (Adverb) เมื่อเติมแล้ว ทำให้คำนั้นมีความหมายตรงกันข้ามเช่น pure บริสุทธิ์ impure ไม่บริสุทธิ์ polite สุภาพ impolite ไม่สุภาพ
3. –In (ไม่) ใช้สำหรับเติมหน้าคำคุณศัพท์ (Adjective) เท่านั้น เมื่อเติมแล้วทำให้คำนั้นมีความหมายเช่น direct ตรง indirect ไม่ตรงexpensive แพง inexpensive ไม่แพง
4. –Re (อีก) ใช้สำหรับเติมหน้าคำกริยา (verb) หรือคำนามที่มาจากกริยาเท่านั้น  เมื่อเติมแล้วทำให้คำนั้นมีความหมายว่า ทำอีกเช่น write เขียน rewrite เขียนใหม่ speak พูด respeak พูดอีก
5. –Dis (ไม่) ใช้สำหรับเติมหน้ากริยา (verb) หรือเติมหน้าคุณศัพท์ (Adjective) และเมื่อเติมแล้ว ทำให้คำนั้นมีความหมายตรงกันข้ามlike ชอบ dislike ไม่ชอบ agree เห็นด้วย disagree ไม่เห็นด้วย
6. –Mis (ผิด) ใช้สำหรับนำหน้าหรือเติมหน้าคำกริยา (verb) เท่านั้น เมื่อเติมแล้วทำให้กริยาตัวนั้น มีความหมายว่า กระทำผิด เช่น write เขียน miswrite เขียนผิด  spell สะกดตัว misspell สะกดตัวผิด
7. –Pre (ก่อน) ใช้สำหรับเติมหน้าคำนาม (Noun) หรือกริยา (verb) เมื่อเติมแล้วทำให้นามนั้นมีความหมายว่า ก่อน , หรือทำก่อนเช่น history ประวัติศาสตร์ prehistory ก่อนประวัติศาสตร์  university มหาวิทยาลัย preuniversity ก่อนมหาวิทยาลัย
8. –Tri (สาม) ใช้สำหรับเติมหน้าคำนาม และเมื่อเติม tri เข้าข้างหน้าแล้ว ทำให้คำนั้นมีความหมายว่า สามขึ้นมาทันทีเช่น คำเดิม คำแปล เติมอุปสรรค tri แล้ว คำแปล angle เหลี่ยม triangle  รูปสามเหลี่ยมcycle จักรยาน tricycle รถสามล้อ
9. –Bi (สอง) ใช้สำหรับเติมหน้าคำนาม และเมื่อเติม bi เข้าข้างหน้าแล้วทำให้คำนั้นมีความหมายสองขึ้นมาทันที เช่น cycle จักรยาน bicycle จักรยานสองล้อ polar ขั้วโลก bipolar มีสองขั้วโลก
10. –En อุปสรรคตัวนี้ไม่มีคำแปลเป็นเอกเทศ เพียงแต่ว่าเมื่อนำไปเติมข้างหน้าคำนาม หรือคำคุณศัพท์แล้วทำให้คำนั้นกลับเป็นกริยา (verb) ขึ้นมาทันที เช่น camp ค่ายพัก encamp ตั้งค่าย sure แน่ใจ ensure รับประกัน


Suffix  
        Suffix  (ปัจจัย) คือคำที่เติมท้ายคำอื่น แล้วให้คำนั้นเปลี่ยนชนิดของคำไป (เช่น อาจเปลี่ยนจากคำนามเป็นคำคุณศัพท์ เป็นต้น) แต่ความหมายของคำนั้นยังเหมือนเดิม เช่น employ (ว่าจ้าง) เป็น verb (คำกริยา) หากเราเติม Suffix "-er" เป็น employer (นายจ้าง ความหมายยังคล้ายของเดิม แต่ขอให้สังเกตว่าจะเปลี่ยนหน้าที่เป็น noun (คำนาม) เพื่อความสะดวกในการจำ เลยได้รวบรวมเป็นกลุ่มๆไว้ดังนี้
1. Noun Suffix  คือ คำนามที่ถูกสร้างขึ้นมา ซึ่งแบ่งเป็น 2 พวกใหญ่ๆ คือ
      - คำนามที่แสดงตัวผู้กระทำ (denoting an agent) ซึ่งถูกสร้างมาจาก Suffix ดังต่อไปนี้
-ant / -ent / - ar / -er / -ard /-eer / -ess / - ier / -yer / -ian / -ist / -or / -ster / -monger  ใช้เติมหลังคำกริยาหรือคำนาม , adj เพื่อให้เป็น นามผู้กระทำการเท่านั้น
      - คำนามที่แสดงตัวผู้รับการกระทำ (denoting the receiver of an action) -ee / -ite / -ive
2.Verb Suffix คือ คำกริยาที่สร้างมาจาก Suffix อันได้แก่ -ate / -en / -fy / -ise / -ize
3. Adjective Suffix  คือ คำคุณศพท์ที่เกิดจากการเติม Suffix ต่อไปนี้โดยจะแยกเป็นกลุ่ม ๆ คือ
       3.1  -able / -ble / -ile = สามารถ
       3.2  -ac / -al / -an / -ary / -ic / -ical = เกี่ยวกับ
       3.3  -acious / -ant / -ent / -ative = มีแนวโน้มที่จะ
       3.4  -ful / -os / -ous / -olent = เต็มไปด้วย
4.Suffix กลุ่มอื่นๆที่น่าสนใจ
       4.1 "เหมือน ราวกับ"  -ile / -ish / -like / -y
       4.2 "บอกถึงสถานที่"   -ary / -ery / -ory / -orium / -arium
       4.3  "เล็กน้อย น้อย"  -cule / -cle / -ette / -let / -less / -ling  

Capitalization



Capitalization
       หมายถึงการใช้ตัวอักษรนำ (Capital letter) ขึ้นต้นประโยค มีวิธีใช้ ดังนี้
1. ให้ใช้ตัวอักษรนำตลอดไปเมื่อขึ้นต้นประโยคใหม่ เช่น
        He is at home.                       เขาอยู่ที่บ้าน
        Remember me to his family.  ขอฝากความคิดถึงไปยังครอบครัวเขาด้วย
2. นามที่เป็นชื่อเฉพาะ เช่นชื่อคน  ชื่อเมือง ชื่อประเทศ ชื่อเมืองหลวง
แม่น้ำ ทวีป ทะเลสาป ทะเลทราย วัน เดือน ต้องใช้ตัวอักษรใหญ่นำเสมอเช่น
          Wichuda is my friend.     วิชุดาเป็นเพื่อนของฉัน
         He  bought T.V. from Central Store.
         เขาซื้อโทรทัศน์มาจากห้างเซนทรัล     
       We live in Bangkok.         เขาอาศัยอยู่ในกรุงเทพ
        January is the first month of the year.
        เดือนมกราคมเป็นเดือนแรกของปี
3. ชื่อวิชา เชื้อชาติ  สัญชาติ  ยศ  ตำแหน่ง  หนังสือ  บุคลากร   บทเพลง  ภาพยนตร์ ต้องใช้ตัวอักษรนำขึ้นต้น เช่น
        I like English.                          ฉันชอบภาษาอังกฤษ
         We are Thai people.              เราเป็นคนไทย     
       John is an English.                 เขาเป็นคนเชื้อชาติอังกฤษ

Non-Finite Verbs



 Non-Finite Verbs 
(กริยาไม่แท้) อันที่จริงเมื่อดูรูปแล้วก็คือกริยาธรรมดานี่เอง แต่ว่าไม่ได้นำมาใช้ทำหน้าที่เป็นกริยาแท้ (Finite Verb),   หรือกริยาสำคัญ (Principal Verb), หรือกริยาหลัก (Main Verb) ส่วนมากจะทำหน้าที่ประกอบหรือ ขยาย (Predicate) กริยาแท้ (Finite Verb) มากกว่า
Non-Finite Verb แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
1  เป็นรูปของ Infinitive บ้าง ได้แก่ to + Verb ช่อง 1 เช่น to walk, to speak, to read etc.  เช่น
She likes to walk to school early morning.  หล่อนชอบเดินไปโรงเรียนแต่เช้าตรู่
That baby learns to speak with his mother. เด็กคนนั้นฝึกพูดกับแม่ของเขา
(to walk,  to speak เป็น Non-Finite Verb ส่วน likes, learns เป็น Finite Verb ในประโยค)
2  เป็นรูของ Gerund บ้างได้แก่ Verb ช่องที่ 1 เติม ing เช่น sleeping, speaking, writing, running etc. เช่น
They need sleeping in the night.  พวกเขาต้องการนอนหลับเวลากลางคืน
I prefer speaking to writing.  ผมชอบพูดมากกว่าเขียน
(speaking, sleeping, writing, เป็น Non-Finite Verb ส่วน need และ prefer เป็น Finite Verb)
3  เป็นรูปของ Participle บ้างได้แก่ Present Participle (คือ Verb ช่องที่ 1 เติม ing)  เช่น  walking, coming, working, หรือ Past Participle (Verb ช่องที่ 3) เช่น walked, come, seen, spoken, ตัวอย่างเช่น :-
This is a guard walking in front of his house every night.  มียามเดินอยู่หน้าบ้านของเขาทุกคืน(Walking เป็น Present Participle ทำหน้าที่เป็น Non-Finite Verb ขยาย Guard)
We saw Ronny working in the garden yesterday.  เราเป็นรอนนี่กำลังทำงานอยู่ในสวนเมื่อวานนี้(working เป็น Present Participle ทำหน้าที่เป็น Non-Finite Verb มาขยาย Ronny)
Have you read the story written by me?  คุณได้อ่านนิทานที่เขียนโดยผมหรือยัง
(Written เป็น Past Participle ทำหน้าที่เป็น Non-Finite Verb มาขยาย Story)
She does not want a used car.  หล่อนไม่ต้องการรถที่ใช้แล้ว
(Used เป็น Past Participle ทำหน้าที่เป็น Non-Finite Verb มาขยาย car)